คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย
หรือที่เราเรียกว่า อุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ (hardware) ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น หน่วยรับข้อมูล (input), หน่วยแสดงข้อมูล
(output), หน่วยประมวลผล (processing unit), หน่วยความจำ (memory unit/storage unit) และอุปกรณ์อื่นๆ
3.1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
หมายถึงโครงสร้างของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถมองเห็นและจับต้องได้เช่น
คีย์บอร์ด เมาส์ จอคอมพิวเตอร์ และตัวเครื่อง นอกจากนี้ยังประกอบด้วยอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ
ที่ช่วยเสริมให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้กว้าง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น
เครื่องสแกนเนอร์ เครื่องดิจิไตส์เซอร์ ชุดมัลติมีเดีย อุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ
ดังนั้น ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งตามหน้าที่การทำงานของเครื่องได้ดังนี้
1) หน่วยรับข้อมูล (Input unit) เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูล
เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ คือ แป้นพิมพ์ ( Keyboard
) และเมาส์ ( Mouse) นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์รับเข้าอื่น
ๆ อีก ได้แก่ สแกนเนอร์ ( Scanner), วีดีโอคาเมรา (Video
Camera), ไมโครโฟน (Microphone),ทัชสกรีน (Touch
screen), แทร็คบอล (Trackball), ดิจิตเซอร์
เทเบิ้ล แอนด์ ครอสแชร์ (Digiter tablet and crosshair)
2) หน่วยประมวลผลกลาง (Processor) เป็นชิปเซตที่ทำหน้าที่ในการประมวลผล ภายใน
ซึ่งประกอบด้วย ส่วนควบคุม (Control Unit : CU) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานส่วนต่างๆ
ของระบบโดยส่งสัญญาณควบคุมผ่านระบบบัส (Bus) ส่วนคำนวณและเปรียบเทียบ
(Arithmetic and Logic Unit : ALU) มีหน้าที่หลักคือ การคำนวณและและเปรียบเทียบข้อมูลด้วยหลักการทาง
คณิตศาสตร์ และ ตรรกศาสตร์ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร และการตรวจสอบเงื่อนไข
เก็บข้อมูลที่ ได้จากการ ประมวลไว้ในส่วนที่เรียกว่า Register ปกติแล้วคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วย ประมวลผลเพียงชุดเดียว
ในกรณีของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานประมวลผลข้อมูลดาวเทียมซึ่งมี
ความละเอียดของข้อมูลสูง มีการประมวลผลตลอดเวลา และมีการทำงานของโปรแกรมพร้อมกัน
หลายโปรแกรม หน่วยประมวลผลเพียงชุดเดียวจึงอาจไม่เพียงพอ เพราะจะทำให้เครื่องประมวลผล
หยุดการทำงานในขณะที่มีการประมวลผลหนักๆ การเลือกใช้คอมพิวเตอร์แบบมีหน่วยประมวลผล
2 ชุด (two-processor) เป็นทางหนึ่งที่ช่วยให้การประมวลผลมีเสถียรภาพ
โดยหน่วยประมวลผล สามารถทำงานในเวลาเดียวกันเป็นตัวสำรองซึ่งกันและกันเมื่อ CPU
ตัวใดตัวหนึ่งหยุดทำงานอีกตัว หนึ่งจะทำงานแทนโดยอัตโนมัติ
3) หน่วยความจำหลัก (Main Memory) เราสามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้โดย อัตโนมัติโดยอาศัยชุดคำสั่งที่ป้อนสู่ระบบคอมพิวเตอร์จะเก็บคำสั่งเหล่านั้นไว้ในหน่วยความจำ
หลักเพื่อทำงานตามชุดคำสั่ง หน่วยความจำหลักประกอบด้วย หน่วยความจำแบบอ่านได้อย่างเดียว
(Read Only Memory : ROM) ทำหน้าที่ในการเก็บชุดคำ
สั่งควบคุมการรับส่งข้อมูลพื้นฐาน คือ BIOS ซึ่งจะถูกกำหนดมาจากโรงงานผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์
หน่วยความจำส่วนนี้จะเก็บข้อมูลไว้ ตลอดอายุการใช้งานของเครื่อง อีกประเภทหนึ่งเรียกว่า
หน่วยความจำแบบชั่วคราว (Random Access Memory : RAM)หน่วยความจำส่วนนี้สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลได้ตลอดเวลา
เป็นส่วน ที่ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลเพื่อส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผล
หลังจากคอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลแล้วจะส่งข้อมูลกลับมาที่หน่วยความจำ ทำให้หน่วยความจำมีการเปลี่ยนแปลง
เคลื่อนย้ายข้อมูลเป็นจำนวนมาก เปรียบเสมือนหน่วยรับฝากข้อมูลแบบ ชั่วคราว ซึ่งจะถูกแทนที่ ด้วยข้อมูลใหม่เสมอ
ถ้าปิดเครื่องข้อมูลในหน่วยความจำส่วนนี้จะหายไปหมด คอมพิวเตอร์ที่ใช้ใน
การประมวลผลข้อมูลดาวเทียม ในปัจจุบันควรจะเลือกใช้ RAM ชนิด
ที่มี Parity SDRAM PC100 โดยมี RAM ไม่ต่ำกว่า
128 MB เนื่องจากข้อมูลดาวเทียมมีความละเอียดและความซับซ้อนในการ
ประมวลผลหลายขั้นตอน กอปรกับโปรแกรมประมวลผลข้อมูลดาวเทียมมีขนาดใหญ่ และมีการต่อ
พ่วงอุปกรณ์อื่นๆ เช่นเทปอ่านข้อมูล สำหรับอ่านข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ในหน่วยความจำ
จึงทำให้ ความต้องการหน่วยความจำหลักมีมากขึ้นและการประมวลผลแต่ละครั้งจะมีการใช้หน่วยความจำ
จะเพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัว
4) หน่วยบันทึกข้อมูล
(Data Entry Unit) เป็นสื่อในการเก็บข้อมูล และสามารถนำข้อมูลกลับประมวลผลใหม่
และบันทึกข้อมูลซ้ำได้หลายครั้ง ข้อมูลที่ถูกประมวลผลแล้วเก็บอยู่ใน หน่วยความจำหลัก
ถ้าปิดเครื่องข้อมูลเหล่านั้นจะหายไป จึงควรมีการบันทึกข้อมูลลงฮาร์ดดิสก์
อุปกรณ์ส่วนนี้ทำหน้าที่เป็นทั้งหน่วยรับข้อมูลและหน่วยแสดงผลข้อมูล (Input/output
Device) อุปกรณ์ที่จำเป็นในระบบงานประมวลผลข้อมูลดาวเทียมและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้แก่
(1) ฮาร์ดดิสต์ (Hard Disk ) แผ่นจานแม่เหล็กเก็บข้อมูลชนิดแข็ง
แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่เชื่อมต่อภายในเครื่อง (Internal
Hard Disk) และประเภทที่เชื่อมต่อภายนอก (External hard
disk) ปัจจุบันได้มีการผลิต ฮาร์ดดิสต์วามจุตั้งแต่ 6 GB ขึ้นไป โดยมีมาตรฐาน การเชื่อมต่อ IDE SCSI และ USB
ซึ่งมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลตามมาตรฐานแบบ SCSI จะมี ประสิทธิภาพและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล การส่งผ่านข้อมูลได้ดีกว่า
จึงเป็นที่นิยมใช้ในงาน ประมวลผลข้อมูลและส่งผ่านข้อมูลจำนวนมาก
ฮาร์ดดิสต์ที่ผลิตในปัจจุบันได้แก่ Seagate, IBM, Maxtor, Quantum
(2) เทปคาร์ทริดจ (Cartridge
Tape) เทปคาร์ทริดจ์มีจุดเด่นตรงสามารถบันทึก ข้อมูลซ้ำได้หลายครั้ง
และมีความจุสูงถึงระดับกิกะไบต์คือ ตั้งแต่ 1 กิกะไบต์ขึ้นไป
สูงถึง 14 กิกะไบต์มีลักษณะเทปคล้ายเทปคาสเซ็ท เป็นม้วนยาว 112
m ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลที่มีจำนวน มาก เช่น การสำรองข้อมูลขององค์กรขนาดใหญ่
ใช้เป็นสื่อกลางในการบันทึกข้อมูลดาวเทียม
(3) เครื่องอ่านและบันทึกข้อมูล ประเภท CD, DVD ใช้ลำแสงเลเซอร์ในการอ่าน
และเขียนข้อมูลมีทั้งชนิดอ่านได้อย่างเดียว ซึ่งเรียก ว่า Compact Disk
Read Only Memory (CD-ROM) Digital Video disc/Digital Versatile Disc (DVD) และชนิดที่สามารถอ่านและอ่านและเขียนได้เรียกว่า CD-R, DVD-Rปกติแล้วการบันทึกข้อมูลลงซีดีจะบันทึกได้เพียงครั้งเดียว แต่มี
เครื่องบันทึกซีดีที่ออกมารองรับการบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ครั้ง เรียกว่า CD - RW, DVD-RW สามารถลบข้อมูลในแผ่นและบันทึกใหม่ได้
(4)
Floppy Disk แผ่นจานแม่เหล็กชนิดอ่อน เคลือบด้วยสาร Polyester
เป็น Mylar บางๆ บรรจุในซองพลาสติก มีขนาด 3.5
นิ้ว ความจุ 1.44MB
5) หน่วยแสดงผลข้อมูล
(Output Unit) ทำหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูลที่ได้จากการ
ประมวลผล เป็นส่วนที่เชื่อมความสัมพันธ์และโต้ตอบระว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์
หน่วยแสดงผลที่ เห็นได้ชัดเจนได้แก่ จอคอมพิวเตอร์ ให้ความละเอียดของการแสดงผลได้ดีกว่าการแสดงผลออก
ทางสิ่งพิมพ์แต่เราไม่สามารถจับต้องได้เราเรียกว่า Softcopy ส่วนการแสดงผลออกทางสื่อสิ่งพิมพ์
เรียกว่า Hardcopyเช่น แผนที่ แผนภูมิต่างๆ
จัดพิมพ์ในรูปกระดาษ หรือแผ่นฟิล์ม
(1) จอคอมพิวเตอร์ จอคอมพิวเตอร์สำหรับงานประมวลผลข้อมูลดาวเทียมควรใช้
จอขนาดใหญ่ 20 นิ้วขึ้นไป หรือไม่ควรต่ำกว่า 17 นิ้ว มีหลอดภาพชนิด Trinitron ซึ่งให้ความคมชัด
ของภาพได้ดี และความละเอียดในการแสดงผล 1600x1200 จุด ทำให้สามารถแสดงผลภาพได้ดี
(2) เครื่องพิมพ์เครื่องพิมพ์ที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูลดาวเทียมมีด้วยกันหลาย
ประเภท แต่ที่นิยมใช้กัน คือ เครื่องพิมพ์ชนิด Laser เครื่องพิมพ์ชนิด
Ink Jet ซึ่งให้ความละเอียดใน การพิมพ์สูงกว่า และพิมพ์ได้รวดเร็วกว่าเครื่องพิมพ์ชนิด
Dot matrix
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น